ไขมันดี (HDL) Vs ไขมันเลว (LDL)
Published : 11 April 2024
จันทร์ – ศุกร์
9.00 - 17:00
02-101-6345, 082-854-4872, 098-287-8472, 098-828-8124
miclabthailand@gmail.com
บริษัท เมดิคอล อินโนเวชัน เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 7 ซอยจัดสรร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย
แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10310
Customer:
Report date |
Patient name |
HN |
Lab Number |
Test |
Specimen |
Results |
File Download |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Received date | Patient name | HN | Lab Number | Specimen |
Results |
Test | File Download |
Published : 11 April 2024
Published : 21 March 2024
Published : 15 June 2023
Published : 17 January 2023
Published : 01 November 2022
Published : 17 October 2022
Published : 05 August 2022
Published : 22 April 2022
Published : 10 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 05 August 2020
Published : 24 April 2020
Published : 23 April 2020
Published : 23 April 2020
Published : 24 April 2020
TB และ HIV มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่องก็สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ จากการคาดประมาณขององค์กรอนามัยโลกเมื่อปี 2559 ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 11,000 ราย สำนักวัณโรครายงานผลการดำเนินงานด้านวัณโรคของประเทศไทยปี 2559 พบว่ามีผู้ที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค เป็นผู้ป่วยวัณโรคที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ประมาณ 6,780 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 ของผู้ที่ได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวีทั้งหมด ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของผู้ป่วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
รูป 1 การคาดประมาณขององค์กรอนามัยโลกปี 2559
ที่มา : WHO GLOBAL TB REPORT 2019
ทำไมคนที่ติดเชื้อเอชไอวี ถึงมีโอกาสติดวัณโรคมากกว่าคนปกติ?
เซลล์ที่เป็นเป้าหมายหลักของเอชไอวี คือ เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ชนิด ทีเซลล์ (T-cell) หรือ CD 4 ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์เพื่อฆ่าเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อวัณโรคได้ง่ายกว่าคนทั่วไปสูงถึงร้อยละ 10 ต่อปี นอกจากนี้พบว่าการติดเชื้อเอชไอวียังเพิ่มการป่วยเป็นวัณโรคซ้ำ (Recurrent tuberculosis) จากสาเหตุการลุกลามของเชื้อวัณโรคเดิม (Endogenous reactivation or true relapse) ซึ่งการติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงในการเกิดวัณโรคหลังจากได้รับเชื้อสูงถึง 113 เท่า และจะมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้นมากถึง 170 เท่าหากพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์
รูป 3
คาดประมาณว่าการติดเชื้อน่าจะมีแนวโน้มลดลง และสามารถค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่
และกลับเป็นซ้ำเพิ่มมากขึ้น
ที่มา : สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค 2019
ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี จะพบลักษณะอาการทางคลินิกคล้ายกับผู้ที่เป็นวัณโรคทั่วไป ได้แก่
อาการไอเป็นเลือด หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก
มีไข้นานกว่าปกติ
น้ำหนักตัวลดลง
ทั้งนี้ยังพบว่าเชื้อวัณโรคยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้มากกว่าวัณโรคทั่วไป เช่น เยื่อหุ้มสมอง กระดูก หรือต่อมน้ำเหลือง ได้อีกด้วย
ในปัจจุบันแม้จะมีความก้าวหน้าในการดูแลรักษา วัณโรคและเอดส์ แต่พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวียังคงเข้าสู่ระบบล่าช้า จึงทำให้นำไปสู่การเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก (รูป 4) เพื่อลดการป่วยและการเสียชีวิตจากผู้ป่วยเอชไอวีร่วมกับวัณโรค จึงมีมาตรการ R-R-T-T-R (รูป 5) เพื่อแก้ไขปัญหาโดยใช้กรอบดำเนินงานที่มุ่งเน้นการส่งเสริมเข้าสู่ระบบ เพื่อวินิจฉัยให้รวดเร็ว พร้อมการดูแลรักษาอย่างทั่วถึง
รูป 5 มาตรการ R-R-T-T-R
ที่มา : TB / HIV แนวปฏิบัติการผสมผสานวัณโรคและเอดส์ พ.ศ. 2560
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค