ไขมันดี (HDL) Vs ไขมันเลว (LDL)
Published : 11 April 2024
จันทร์ – ศุกร์
9.00 - 17:00
02-101-6345, 082-854-4872, 098-287-8472, 098-828-8124
miclabthailand@gmail.com
บริษัท เมดิคอล อินโนเวชัน เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 7 ซอยจัดสรร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย
แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10310
Customer:
Report date |
Patient name |
HN |
Lab Number |
Test |
Specimen |
Results |
File Download |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Received date | Patient name | HN | Lab Number | Specimen |
Results |
Test | File Download |
Published : 11 April 2024
Published : 21 March 2024
Published : 15 June 2023
Published : 17 January 2023
Published : 01 November 2022
Published : 17 October 2022
Published : 05 August 2022
Published : 22 April 2022
Published : 10 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 05 August 2020
Published : 24 April 2020
Published : 23 April 2020
Published : 23 April 2020
Published : 01 November 2022
โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายย่อมเสื่อมลงไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการเกิดโรค
ตามมาได้ โดยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุนั้น ได้แก่
1.โรคข้อเข่าเสื่อม พบมากในผู้สูงอายุ โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ถึง 2 เท่า ซึ่งสาเหตุการเกิดข้อเข่าเสื่อมนั้น มักเกิดมาจากการใช้ข้อเข่ามานาน และการรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป จนส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อเข่า เข่าบวม รวมถึงมีปัญหาในการนั่ง และขึ้นลงบันได
2.โรคเบาหวาน พบได้บ่อย เนื่องจากอายุที่มากขึ้นส่งผลให้การทำงานของตับอ่อนมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้หน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็ลดลงเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการเกิดภาวะดื้ออินซูลินสูงขึ้นอีกด้วย
3.ความดันโลหิตสูง ภัยเงียบในผู้สูงอายุ โดยโรคนี้อาการจะไม่ชัดเจนในระยะเริ่มแรก มีเพียงอาการเวียนศีรษะเป็นๆหายๆ หลังจากนั้นจะมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ปวดท้ายทอย คลื่นไส้ อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ หากปล่อยไว้นาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้นั้นมาจากภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โรคอ้วน ความเครียด เป็นต้น
4.โรคไต อายุที่มากขึ้น ส่งผลให้ไตมีการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างและการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองและการกักเก็บโปรตีนกลับเข้าสู่กระแสเลือดลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
5.โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นภาวะที่พบมากในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุอันดับต้นๆที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต โดยสาเหตุเกิดมาจากการสะสมของไขมันและเนื้อเยื่อในผนังหลอดเลือด จึงทำให้หลอดเลือดแคบและตีบลง ส่งผลให้เลือดนำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลงและเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ หากปล่อยไว้นานอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
6.โรคกระดูกพรุน เมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลให้กระดูกเสื่อมสภาพไปตามวัย ไม่ว่าจะเป็นความหนาแน่นของกระดูกที่ลดลงและการเสื่อมสลายของโครงสร้างในกระดูก
7.มะเร็ง เมื่อร่างกายเสื่อมถอยตามอายุที่มากขึ้น อาจก่อให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย ก่อตัวเป็นเนื้อร้ายที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกาย โดยโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ เป็นต้น
8.ไขมันในเลือดสูง แม้ว่าในระยะแรกจะไม่มีอาการจากไขมันในเลือดสูง แต่ถ้าหากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้มีปัญหาระยะยาว เช่น หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะส่วนต่างๆในร่างกายได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคตับ เป็นต้น
เพื่อให้ไม่เป็นการละเลยสุขภาพที่อาจจะส่งผลให้เกิดโรคและความผิดปกติได้ในระยะยาว ผู้สูงอายุจึงควรหมั่นตรวจสุขภาพ คัดกรองความเสี่ยงของโรค และประเมินสุขภาพเบื้องต้นของร่างกาย เพื่อป้องกันการเกิดโรคและดูแลสุขภาพให้เหมาะสมตามช่วงวัย