ไขมันดี (HDL) Vs ไขมันเลว (LDL)
Published : 11 April 2024
จันทร์ – ศุกร์
9.00 - 17:00
02-101-6345, 082-854-4872, 098-287-8472, 098-828-8124
miclabthailand@gmail.com
บริษัท เมดิคอล อินโนเวชัน เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 7 ซอยจัดสรร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย
แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10310
Customer:
Report date |
Patient name |
HN |
Lab Number |
Test |
Specimen |
Results |
File Download |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Received date | Patient name | HN | Lab Number | Specimen |
Results |
Test | File Download |
Published : 11 April 2024
Published : 21 March 2024
Published : 15 June 2023
Published : 17 January 2023
Published : 01 November 2022
Published : 17 October 2022
Published : 05 August 2022
Published : 22 April 2022
Published : 10 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 05 August 2020
Published : 24 April 2020
Published : 23 April 2020
Published : 23 April 2020
Published : 21 March 2024
มาทำความรู้จักกับ โรคไทรอยด์
ไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) นี้ มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อ บริเวณส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือก มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย, ควบคุมการใช้ฮอร์โมน และวิตามินอื่น ๆ เป็นต้น
เมื่อใดที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ทุกระบบในร่างกายแปรปรวน ทั้งร่างกาย จิตใจ โดยที่เห็นออกข่าวกันเป็นประจำตามที่ดาราเป็นกัน ก็คือ น้ำหนักตัวขึ้นเยอะมาก เป็นสิบกิโลกรัม หน้าบวม ตัวบวม ทั้งที่พยายามคุมอาหารแล้วก็ตามที นั่นก็เพราะ ระบบในร่างกายแปรปรวนนั่นเอง ซึ่งอาการตัวบวม น้ำหนักขึ้นนี้ คือ อาการของไฮโปไทรอยด์ หรือที่เรียกว่า “ไทรอยด์ต่ำ”
ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อกระตุ้นอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ ตั้งแต่ระบบสมอง หัวใจ ระบบการเผาผลาญของเซลล์ต่างๆ รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย, ควบคุมการใช้ฮอร์โมน และวิตามินอื่นๆ เป็นต้น
ไทรอยด์แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) คือ โรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป ร่างกายมีระดับฮอร์โมน triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4) ในเลือดซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้น เกิดอาการต่าง ๆ เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ น้ำหนักตัวลด และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษพบได้น้อย จะพบได้ในผู้หญิงประมาณ 2% และในผู้ชาย 0.2%
อาการของไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism)
- น้ำหนักลดลงผิดปกติ
- เหนื่อยง่าย ใจสั่น
- ร้อนง่าย เหงื่อออกมาก
- หงุดหงิดง่าย
- นอนไม่หลับ
- กินจุแต่น้ำหนักลดลง
- ประจำเดือนผิดปกติ
- บางรายอาจมีคอโต หรือตาโปน
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือ โรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่น้อยเกินไป ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำเกินไป มีการทำงานของเซลล์ในร่างกายช้ากว่าปกติ
อาการของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ( Hypothyroidism )
- อ้วน ฉุ บวม ที่ใบหน้า รอบดวงตา ลำตัว แขน มือ
- ขาและเท้า
- หัวใจเต้นช้า
- เหนื่อยง่าย
- เซื่องซึม ง่วงนอนตลอดเวลา
- ท้องผูก
- เหงื่อออกน้อย
การป้องกันและดูแลต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์มีความสำคัญต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายของเราอย่างมาก สามารถป้องกันและดูแลต่อมไทรอยด์ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่ปรุงสุกให้ครบ 5 หมู่ และเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ
การตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ TSH คืออะไร
TSH หรือ Thyroid stimulating hormone เป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้ามีหน้าที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ของต่อมไทรอยด์ ระดับของ TSH ใช้บ่งบอกถึงการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้ อย่างไรก็ตามการจะดูว่าต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติหรือไม่นั้นต้องดูร่วมกับระดับของฮอร์โมนไทรอยด์ตัวอื่นๆด้วย กรณีที่ TSH มีค่าสูงขึ้น อาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
1.เกิดจากความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ซึ่งผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้น้อยกว่าปกติ จึงไปกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าผลิต TSH มากขึ้น เพื่อให้ TSH ที่เพิ่มขึ้นกลับไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์
2.อาจมีความผิดปกติที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าซึ่งผลิต TSH มากเกินไป มักพบได้บ่อยถ้ามีเนื้องอกในต่อมใต้สมองส่วนหน้า ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุที่แท้จริงจากแพทย์อย่างเหมาะสมต่อไป
การตรวจเลือดเพื่อหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมน TSH และ T4 หรือ Free T4 จะสามารถหาความเสี่ยงหรือภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนไทรอยด์ได้