ไขมันดี (HDL) Vs ไขมันเลว (LDL)
Published : 11 April 2024
จันทร์ – ศุกร์
9.00 - 17:00
02-101-6345, 082-854-4872, 098-287-8472, 098-828-8124
miclabthailand@gmail.com
บริษัท เมดิคอล อินโนเวชัน เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 7 ซอยจัดสรร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย
แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10310
Customer:
Report date |
Patient name |
HN |
Lab Number |
Test |
Specimen |
Results |
File Download |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Received date | Patient name | HN | Lab Number | Specimen |
Results |
Test | File Download |
Published : 11 April 2024
Published : 21 March 2024
Published : 15 June 2023
Published : 17 January 2023
Published : 01 November 2022
Published : 17 October 2022
Published : 05 August 2022
Published : 22 April 2022
Published : 10 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 09 November 2020
Published : 05 August 2020
Published : 24 April 2020
Published : 23 April 2020
Published : 23 April 2020
Published : 23 April 2020
ไอเรื้อรัง ระวังวัณโรค
จากรายงาน ปี พ.ศ.2560 องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ผู้ป่วยวัณโรคทั้งรายใหม่และรายเดิมที่กลับมาเป็นซ้ำทั่วโลกประมาณ 10.4 ล้านคน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตสูงถึง 1.7ล้านคน สำหรับประเทศไทยองค์การอนามัยโลกจัดให้เป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรค มีผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวีสูง (TB/HIV) และมีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) สูงที่สุดในโลก
วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศ (Airborne transmission) โดยเมื่อผู้ป่วยวัณโรคปอด หลอดลม หรือกล่องเสียง ไอจาม พูดดังๆ ตะโกน หัวเราะหรือร้องเพลง ทำให้เกิดละอองฝอย(Droplet nuclei) ฟุ้งกระจายออกมา ละอองฝอยที่มีขนาดใหญ่มาก จะตกลงสู่พื้นดินและแห้งไป
ส่วนละอองฝอยที่มีขนาดเล็ก 1 - 5 ไมโครเมตร จะลอยและกระจายอยู่ในอากาศได้นานถึง 30 นาที ทำให้ผู้อื่นสูดหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อวัณโรคเข้าสู่ถุงลมในปอด
พยาธิสภาพของการเกิดวัณโรค
เมื่อสูดหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไปอนุภาคขนาดใหญ่จะติดอยู่ที่จมูกหรือลำคอซึ่งมักไม่ก่อให้เกิดโรค แต่อนุภาคขนาดเล็กๆจะเข้าไปสู่ถุงลมในปอด หลังจากนั้นเชื้อจะทำการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน หากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดโรคและมีรอยโรคในเนื้อปอด หากเชื้อวัณโรคแบ่งตัวในเนื้อปอดมากขึ้นอาจลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายสู่อวัยวะต่างๆ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ไต ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น
Reference: Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค
1. ด้านผู้ป่วยวัณโรค คือ ผู้ป่วยวัณโรคปอดกล่องเสียงและอวัยวะอื่นที่มีช่องทางเปิดออกสู่ภายนอก นั้นแพร่กระจายเชื้อออกไป โดยเฉพาะผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีแผลโพรงในปอดหรือมีแผลลุกลามมาก ซึ่งตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะ และผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ไม่ปิดปากและจมูกขณะไอ จาม
2. ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น สถานที่คับแคบ แออัด (Enclosed spaces) มีการไหลเวียนของอากาศน้อย อากาศถ่ายเทน้อย เป็นต้น
3. ด้านผู้สัมผัส ขึ้นอยู่กับ ปริมาณเชื้อวัณโรคในอากาศที่ผู้สัมผัสสูดเข้าไป และระยะเวลาที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อ
4. ด้านการให้บริการสาธารณสุข ได้แก่ ความล่าช้าในการวินิจฉัย (Delay diagnosis) การเริ่มการรักษาล่าช้า (Delay treatment) ไม่มีการแยกผู้ป่วยออกจากผู้อื่น และการรักษาด้วยระบบยาที่ไม่เหมาะสม
การติดเชื้อวัณโรคแฝง (Latent TB Infection : LTBI)
ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการป่วยเป็นวัณโรค ไม่สามารถแพร่ กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งสามารถตรวจพบการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงนี้ได้ ด้วยวิธี Tuberculin skin test (TST) หรือวิธี Interferon-gamma release assay (IGRA) โดยสามารถตรวจได้หลังจากการติดเชื้อไปแล้ว 2-8 สัปดาห์
ผู้ป่วยวัณโรค (Active TB disease)
คือ ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคและภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถจัดการทำลายเชื้อได้ หรือเป็นผลมาจากการติดเชื้อวัณโรคแฝงมาแล้วหลายปี ผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการแสดง เช่น ไอเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ เจ็บหน้าอก ไอมีเลือดหรือเสมหะปน น้ำหนักลด ไข้ เหงื่อออกผิดปกติตอนกลางคืน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านระบบทางเดินหายใจขณะพูด คุย หรือจาม
https://www.scdhec.gov/sites/default/files/docs/Health/docs/TBInfectionvsTBDisease.pdf
วิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
(1) การตรวจหาเชื้อ acid-fast bacilli (AFB) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microscopic examination) สามารถทดสอบได้รวดเร็ว แต่ sensitivity ต่ำและไม่สามารถจำแนกได้ว่าเชื้อที่พบเป็นเชื้อ MTBC หรือ NTM
(2) การเพาะเลี้ยงเชื้อและพิสูจน์ยืนยันชนิด (mycobacterial culture and identification) มี sensitivity และ specificity ดี แต่ใช้ระยะเวลานานในการเพาะเลี้ยง
(3) การตรวจทางอณูชีววิทยา (molecular biology) สามารถตรวจพบเชื้อได้ง่ายและเร็วขึ้น sensitivity 80%และ specificity 98-99%
(4) การทดสอบความไวต่อยา (drug susceptibility testing) เป็นการทดสอบทางห้องปฏิบัติการว่า เชื้อวัณโรคสายพันธุ์ที่นำมาทดสอบนั้น มีความไวต่อยาที่ใช้ทดสอบหรือไม่ เรียกว่า phenotypic DST
(5) การตรวจหาการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อวัณโรค (immune reactivity testing) มี 2 ชนิด คือ การทดสอบทางผิวหนัง (tuberculin skin test หรือ TST) และตรวจวัดระดับสาร interferon-gamma (IGRAs) ข้อดีของการตรวจ IGRAs คือ มีความจำเพาะต่อเชื้อ M. tuberculosis มากกว่า TST ไม่เกิดผลบวกลวง จากการได้รับวัคซีนบีซีจีหรือการติดเชื้อ NTM และเป็นการตรวจเลือดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่มีข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายที่สูง
แนวทางการคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคในผู้ป่วยทั่วไป
แนวทางการตรวจวินิจฉัยวัณโรค
ข้อมูลอ้างอิงจาก: แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2561สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค
MIC Lab พร้อมให้บริการตรวจวิเคราะห์ด้านวัณโรค จากประสบการณ์มากว่า 5 ปี ด้วยการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 15189:2012 และ ISO 15190:2003 อีกทั้งเรายังเข้าร่วมโครงการประกันคุณภาพทั้งภายในและต่างประเทศ เช่น QCMD จากประเทศอังกฤษ เป็นต้น
บริการของ MIC Lab
AFB stain
ADA
TB PCR
MDR TB
Mycobacterium culture profile I
Mycobacterium culture profile II
Mycobacterium culture & Sensitivity test profile I
Mycobacterium culture & Sensitivity test profile II
Drug susceptibility test (Proportion method)
Drug susceptibility test (Absolute concentration method)
QuantiFERON-TB
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ MIC lab call center : 02-101-6345 Mobile : 099-338-9970 หรือ 098-828-8124